ศูนย์วิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ (CENDiM) เป็นศูนย์วิจัยชั้นนำภายใต้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งพัฒนางานวิจัย องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
พันธกิจ (Mission)
1. สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีมาตรฐาน
2.บูรการองค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกับทุกภาคส่วน
3.เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน
4.บริการทางวิชาการแก่สังคมด้านการจัดการภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลที่ได้จากผลผลิตของโครงการวิจัยของศูนย์ CENDiM เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
My Projects
โครงการและผลงานวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ CENDiM
และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ
ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- โครงการพัฒนาระบบการสํารวจและบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ําท่วมและดินถล่ม บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการขั้นสูง
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ําท่วมและดินถล่ม จังหวัดเชียงราย
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ําเพื่อการเตือนภัยน้ําท่วม จังหวัดพะเยา
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ําเพื่อการแจ้งเตือนภัยน้ําท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ําฝาง
- โครงการระบบเตรียมความพร้อมรับเพื่อมือภัยน้ําท่วมเขตเมืองเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัยน้ําท่วมและเฝ้าระวังสาธารณภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย
- โครงการจัดทําแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ําจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา และแม่ฮ่องสอน
ด้านสิ่งแวดล้อม
- โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบปริมาณและคุณภาพน้ํา
- โครงการศึกษาการพัฒนาศักยภาพของแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ําเสีย ของคลองแม่ข่า
- โครงการ Implementation of Plastics Roads for ASEA
- โครงการวิจัยประเมินการเกิดไมโครพลาสติกจากถนนยางมะตอยที่มีส่วนผสมของพลาสติกใช้แล้ว
- โครงการประเมินข้อมูลความสูญเสียและของเสียอาหารโดยตลอดห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ข้าว ระดับชาติ
- โครงการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยใช้การวิเคราะห์การไหลของวัสดุ: กรณีศึกษาของภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการขยะแบบองค์รวมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ศูนย์การจัดการขยะแบบผสมผสานบ้านตาล
- โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- โครงการพัฒนาวัสดุเชื่อมประสานจากเถ้ากองทิ้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงคุณภาพถนน
- โครงการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเถ้าถ่านหินโรงไฟฟ้า BLCP สำหรับเป็นวัสดุก่อสร้างและปรับปรุงคุณภาพถนน
- โครงการพัฒนาแนวทางการแก้ไขวัสดุชั้นพื้นทางอย่างชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับการก่อสร้างถนนของประเทศไทย (ระยะที่ 1)
- โครงการพัฒนาวัสดุพื้นทางถนนแห่งอนาคต บนพื้นฐานแนวคิดวัสดุหลากหลายหน้าที่และการพัฒนาอย่างยั่งยืนถนนแห่งอนาคต
- โครงการพัฒนาวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดผสมร้อนที่มีส่วนผสมของปูนไฮเดรทไลม์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติความต้านทานการพังพิบัติจากน้ำและความชื้น
- โครงการศึกษาด้วยวิธีการทดลองถึงพฤติกรรมการคืบและการคลายความเค้นของหินดินเหนียวภายใต้เงื่อนไขการทำเหมืองเปิดแม่เมาะ
คลังความรู้
ศูนย์วิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ (CENDiM)
องค์ความรู้ นวัตกรรม ชุดข้อมูล และเอกสารเผยแพร่ ที่จัดทำโดยศูนย์ CENDiM
คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม
องค์ความรู้ในคู่มือใช้เป็นแนวทางและข้อมูลในการปฏิบัติตัวของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการรับภาวะน้ำท่วม
การบริหารจัดการน้ำท่วม
น้ำท่วมเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถหาวิธีลดความรุนแรงและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ฐานชีวภาพของไทย
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ฐานชีวภาพของไทย ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำและพลังงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย