CENDiM  ศูนย์วิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาพจำลองเสมือนจริงแบบ 3 มิติ ของสถานการณ์น้ำท่วมบนแผนที่ระบบ 3 มิติ

สร้างภาพจำลองของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นบน แผนที่ระบบ 3 มิติที่มีความเสมือนจริงและเห็นได้ทุก มุมมอง ทั้งนี้เพื่อการวางแผน และการฝึกซักซ้อมการรับมือ โดยนำระบบข้อมูลแผนที่ดิจิตอล 3 มิติ ระบบ Scanning LIDAR ในพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความเสมือนจริงมากขึ้น เพียงพอต่อการทาระบบเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือน้ำท่วม และเป็นข้อมูลสนับสนุนงาน เตือนภัยน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี โดยสามารถสร้างเป็นแบบจำลองของภูมิประเทศสามมิติได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลของ LIDAR จึงถูกนำมาใช้สร้างแบบจำลองน้ำท่วมเพื่อ ติดตามพื้นที่ถูกน้ำท่วมและสร้างภูมิประเทศสามมิติได้ ทำให้ทราบถึงพื้นที่ที่ควรป้องกันและแยกแยะพื้นที่ตามความรุนแรงของน้ำท่วม

วีดิโอแสดงเมืองเชียงใหม่แบบ 3 มิติ

แผนที่ 3 มิติจำลองสถานที่สำคัญใน
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ตอน 1
แผนที่ 3 มิติจำลองสถานที่สำคัญใน
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ตอน 2
แผนที่ 3 มิติ จำลองถนนนินมานเหมินทร์
แผนที่ 3 มิติสถานที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ ตอนที่ 1
     
แผนที่ 3 มิติสถานที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ ตอนที่ 2
     

วีดิโอแสดงลำดับการเกิดน้ำท่วม

แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 1
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 2
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 3
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 4
   
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 5
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 6
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 7
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
บริเวณถนนช้างคลาน
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 1
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 2
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 3
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วม
พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 4
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 7 ตอนที่ 1
แผนที่ 3 มิติ จำลองสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ระดับที่ 7 ตอนที่ 2
การจำลองพื้นที่น้ำท่วมรวม7ระดับ
 

คลังรูปภาพแผนที่ 3 มิติ (PHOTO GALLERY )

ตัวอย่าง Model จำลองของตึก

โครงการนี้ได้ปรับปรุง รวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของอาคารและสถานที่สำคัญ และข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา โดยได้รับมอบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์จากโครงการจัดทำระบบเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้มีการแบ่งแยกประเภทโมเดลอาคารของโครงการไว้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทที่ 1 แบบจำลองอาคาร สถานที่สำคัญ และ ถาวรวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ (Landmark Model) ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อาคารที่มีลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรม อาคารที่มีลักษณะเด่นทางวิศวกรรม โดยจำลองอาคารและสถานที่สำคัญให้มีรูปทรงลักษณะเสมือนจริงและใช้ภาพถ่ายจากสถานที่จริงประกอบบางส่วนเป็นลวดลาย (Texture) ของอาคารและสถานที่สำคัญ โดยแสดงขอบเขตของอาคารในรูปแบบ 3 มิติให้มีองค์ประกอบเด่นของอาคารและองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ
  • วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
    โบสถ์วัดเจดีย์เหลี่ยม
    อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
    เวียงกุมกาม

    :: แสดงประเภทโมเดล 3 มิติ ประเภทที่ 1 (Landmark Model) ::

  • ประเภทที่ 2 จำลองอาคาร สถานที่สำคัญ และ ถาวรวัตถุ ที่มีขนาดใหญ่ (General Public building Model) ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดใหญ่ สังเกตได้ง่าย โรงแรม สถานที่ราชการ คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ขนาดใหญ่ แมนชั่น โรงพยาบาล ตลาด ห้างสรรพสินค้า โดยจำลองอาคารและสถานที่สำคัญจากข้อมูลขอบเขตอาคาร โดยจัดทำแบบจำลองสามมิติบริเวณส่วนบนของอาคาร (Top View) ให้ใกล้เคียงหรือเสมือนจริง และมีความสมจริงด้านสัดส่วนความสูงและขนาดของอาคารอย่างสอดคล้องกับภูมิสถาปัตย์และอาคารโดยรอบ โดยจัดทำ 1000 อาคาร
  • โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส เชียงใหม่
    อาคารการเคหะเชียงใหม่
    อาคารเคนเบอร์
    อาคารพาณิชย์ถนนช้างคลาน

    :: แสดงประเภทโมเดล 3 มิติ ประเภทที่ 2 (General Public building Model) ::

  • ประเภทที่ 3 จำลองอาคาร บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป (Residential Building Model) โดยจำแนกประเภท อาคารและสถานที่ให้เป็นหมวดหมู่ แบ่งประเภท ที่พักอาศัย ร้านค้า อาคารพาณิชย์ เพื่อสร้างกลุ่มแบบจำลองบนแผนที่สามมิติ เพื่อเป็นองค์ประกอบสำหรับการวางแผนในภาพรวม ครอบคลุมพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร
  • ภาพรวมโมเดลบ้านที่อยู่อาศัย
    โมเดลที่อยู่อาศัยแบบที่ 1
    โมเดลที่อยู่อาศัยแบบที่ 2
    โมเดลที่อยู่อาศัยแบบที่ 3

    :: แสดงการวางองค์ประกอบของโมเดล 3 มิติ ประเภทที่ 3 ::

  • ประเภทที่ 4 องค์ประกอบทางภูมิสถาปัตย์ (Urban architecture and Landscape model) ของพื้นที่ที่กำหนด ได้แก่ อันได้แก่ ลักษณะสูงต่ำทางภูมิประเทศ กลุ่มต้นไม้ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น เสาไฟส่องสว่าง ป้ายจราจร ที่มีลักษณะเด่น ป้ายโฆษณา ซุ้มถนน สะพานข้ามแยก เพื่อสร้างความเสมือนจริงให้แผนที่ 3 มิติยิ่งขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร
  • สะพานเหล็ก
    องค์ประกอบแบบต้นไม้
    องค์ประกอบแบบป้ายจราจร
    ภาพองค์ประกอบรวมทางภูมิสถาปัตย์

    :: แสดงภาพการวางองค์ประกอบภูมิสถาปัตย์ ::

    ภาพรวมของเมือง

  • มีการนำข้อมูลจากระบบแผนที่สามมิติมาประกอบสร้างเป็นแบบจำลองเมืองบนข้อมูลแผนที่อื่น ๆ เช่น แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 กรมแผนที่ทหาร ขอบเขตพื้นที่น้ำท่วม หรือข้อมูลอื่น ๆ จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กลางของจังหวัดเชียงใหม่มาแสดงร่วมกันด้วยซอฟต์แวร์ด้านภูมิสารสนเทศ เพื่อสร้างภาพจำลองของสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นบนแผนที่ระบบ 3 มิติมีความเสมือนจริงและเห็นได้ทุกมุมมอง บนพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่
  • แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่
    แสดงภาพ 3 มิติ
    ภาพรวมของเมืองเชียงใหม่